►   WELCOME TO THUNGARUN HARDCHROME

บริษัท ทุ่งอรุณ อาร์ดโครม จำกัด

    เป็นบริษัทชั้นนำในการชุบHardchrome,ชุบInduction ออกแบบ สร้าง ซ่อมระบบไฮดรอลิคพร้อมทั้งจำหน่ายอะไหล่ระบบไฮดรอลิคทุกชนิด

 

HARD CHROME คืออะไร

วิธีการชุบฮาร์ดโครม (Hard Chrome) คือ กระบวนการเคลือบเชิงไฟฟ้า (Electrolytic Deposition) ด้วยโครเมียม (Chromium) การชุบฮาร์ดโครมสามารถทำได้กับวัสดุเกือบทุกชนิด ยกเว้น อลูมิเนียม และขี้ตะกั่ว โลหะที่นิยมนำมาชุบส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าชุบแข็ง

การชุบฮาร์ดโครมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. การชุบบาง เป็นการชุบเพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ที่มักใช้ในงานที่มีอัตรา ความเสี่ยงต่อการสึกกร่อนสูง หรืองานที่อยู่ในสภาพที่มีการกัดกร่อนทางเคมี
2. การชุบหนา เป็นการชุบเพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้อย่าง มีประสิทธิภาพดังเดิมสามารถชุบหนาถึง 2.0มม.

คุณลักษณะจำเพาะ
   เรียบลื่น เป็นมันเงา และไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับการชุบผิว แม่พิมพ์พลาสติก เพื่อสามารถ แกะชิ้นงานออกได้ง่ายความสวยงาม และเพิ่มความแข็งแกร่งของชิ้นงานให้มีความแข็งสูงถึง 58-62 H.R.C

คุณสมบัติของชิ้นงานหลังการชุบฮาร์ดโครม
- ทนความร้อน (Heat Resistance)
- ค่าความแข็งสูง (High Hardness)
- ต้านทานการสึกกร่อนได้ดี (Good Wear Resistance)
- ต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี (Good Corrosion Resistance)
- สัมประสิทธิ์การเสียดทานต่ำ (Low Coefficient of Friction)
- ใช้อุณหภูมิในการซ่อมแซมต่ำ (Low Temperature Treatment)

ชุบอะไรได้บ้าง
   1. แกนลูกสูบไฮดรอลิค
   2. สกรูลำเลียง
   3. ลูกกลิ้งบดอัด
   4. เพลามอเตอร์
 

 

การให้ความร้อนโดยการเหนี่ยวนำ
(Induction Heating)

   การชุบแข็งพื้นผิวด้วยกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำความถี่สูง ใช้กับเหล็กที่มีคาร์บอนปานกลาง (0.4 – 0.5%C) หรือเหล็กผสม (Alloy Steel) ที่มีปริมาณคาร์บอนปานกลาง ซึ่งเหล็กประเภทนี้สามารถชุบแข็งด้วยวิธีธรรมดาได้ และจะได้ความแข็งประมาณ 50 – 60 HRC บางกรณีอาจชุบแข็งผิวด้วยวิธีนี้กับเหล็กที่มีคาร์บอนสูง (0.8 – 1.2%C) ได้ แต่ต้องควบคุมการให้ความร้อนที่ดี และควรจะเป็นงานขนาดใหญ่ เช่น ลูกรีดเหล็กหลักการทำงานของการชุบพื้นผิววิธีนี้ อาศัยหลักการให้ความร้อนแก่แท่งเหล็กด้วยกระแสเหนี่ยวนำ (Induction current) ความถี่สูง ซึ่งจะทำให้เหล็กร้อนจัด เฉพาะบริเวณผิวจนถึงจุดที่จะเปลี่ยนจากโครงสร้างเดิม (Pearlite, Ferrite) เป็น Austenite ส่วนเนื้อเหล็กในส่วนที่อยู่ ลึกลงไปในถึงใจกลางจะไม่ร้อน หรือจะร้อนบ้างก็ยังไม่ถึงจุดที่จะกลายเป็นAustenite เมื่อนำเหล็กที่เป็น Austenite เฉพาะผิวไปชุบน้ำหรือทำให้เย็นโดยเร็ว Austeniteตามบริเวณผิวจะเปลี่ยนโครงสร้างเป็น Martensite ส่วนเนื้อเหล็ก ตรงกลางจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงคงสภาพโครงสร้างเดิม ทำให้เหล็กมีความแข็งเฉพาะบริเวณผิว ซึ่งจะทนต่อการเสียดสี และทนต่อความล้า (Fatigue) ได้ดี ในขณะที่คุณสมบัติความเหนียวยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง

 หลักการทำงานของการชุบแข็งผิวด้วยกระแสเหนี่ยวนำ
   อาศัยหลักการของกระแสไฟฟ้าสลับเมื่อไหลผ่านขดลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electro-magnetic) ขึ้นรอบ ๆ ขดลวด และสนามแม่เหล็กนี้จะกลับขั้วตามจำนวนความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ ถ้าเรานำเอาแท่งเหล็กไปใส่ ไว้ในขดลวด สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะตัดผ่านเนื้อเหล็กในลักษณะกลับขั้วไปมา จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในเนื้อเหล็ก ที่เรียกว่า กระแสเหนี่ยวนำไหลวน (Induceeddy หรือ Foucault current) แต่การเกิดกระแสไหลวนในเนื้อเหล็กนี้ จะไม่เกิดสม่ำเสมอตลอดพื้นที่ตัดขวางของแท่งเหล็กจะเกิดมากตามบริเวณผิว ยิ่งความถี่ของกระแสไฟฟ้าสูงกระแส ที่เกิดขึ้นจะเข้มข้นมากตามบริเวณผิวซึ่งเรียกว่า skin effect

 

►   ประสบการณ์การทำงาน


 
Project Image
Project Image
Project Image
Project Image
 
 
Project Image
Project Image
Project Image
Project Image
 
ข่าวสาร เศษฐกิจ พยากรอากาศ